สาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 By Jamadeck
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีที่มีบทบาทมากที่สุดได้แก่ “เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์” เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศและเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่ให้ความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การดำเนินกิจการต่าง ๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ที่โรงเรียนและหน่วยงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าใน 2-3 ปีข้างหน้าความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสารเครือข่ายแบบไร้สาย การสื่อสารเครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่นยนต์

แนวโน้มเททคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะกล่าวต่อไปในหน่วยการเรียนรู้ ในปัจจุบันได้เริ่มนิยมกันบ้างแล้ว บางประเภทนิยมใช้ในต่างประเทศและบางประเภทต้องพัฒนาต่อเนื่องไปอีกในอนาคต ดังนั้นการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับตัวในการดำเนินชิวิต ปารประกอบธุระกิจหรือแม้กระทั่งการวางแผนการพัฒนานวัตกรรมได ๆ ก็ตาม
แนวโน้มทางด้านฮาร์แวร์


 
แนวโน้มทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)

แนวโน้มทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)  ในปัจจุบันพบว่าบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จำนวนมากกำลังผลิตและพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Tablet PCs, Microdisplays และ Headsets ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในเวลาอันใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนรู้และด้านความบันเทิง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ประกอบด้วยชิปอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลโดยความเร็วสูง ทำให้ทั้งภาพและเสียงแสดงผลได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน

 

Headsets

       Headsets ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Bluetooth ในการเชื่อมต่อต่อมานอกจะพัฒนาขนาดของ Headsets ให้มีขนาดที่เล็กลงและคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นแล้วยังมีการพัฒนา Headsets เพื่อให้สามารถถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวได้มากกว่าถ่ายทอดเสียงเพียงอย่างเดียว Headsets จึงได้ติดตั้งจอภาพไว้ด้านหน้าเพิ่มขึ้นทำให้สามารถถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปพร้อมกันได้ เทคโนโลยีเรียกว่า Headsets Monitors


 

 

Virtual Vision

     Virtual Vision คือ เทคโนโลยีสำหรับข้อมูลข่าวสารใหรูปแบบเสมือนจริง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็น Headsets Monitors และแบบที่เป็น Headband ซึ่งมีลักษณะคล้าย Headsets Monitors แต่สวมใส่ที่ศีรษะแทนการใส่ไว้ที่หู โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดีหรือใช้เทคโนโลยี Microdisplays

 


Micro Optical

         Micro Optical มีลักษณะเหมือนแว่นตาแต่จะติดตั้งจอแสดงผลที่กระจกของแว่นตา มีทั้งแบบที่ติดตั้งเป็นจอภาพขนาดเล็กด้านใดด้านหนึ่งภายในกระจกแว่นตา เวลาจะใช้งานจะเชื่อมต่อ Micro Optical กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดีหรือกล้องดิจิทัล จากนั้น Micro Optical จะแสดงข้อมูลที่กระจกบนแว่นตา นอกจากนี้ บริษัท IBM ได้พัฒนาเทคโนโลยีของ Optical ให้สามารถแปลสัญลักษณ์และภาษาญี่ปุ่นให้เป็นภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

 

 

 

 

Visual Informed

        Visual Informed คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี Microdisplays ลักษณะคล้ายโทรศัพท์ที่เคลื่อนที่ จอภาพมีขนาด 19 นิ้ว สามารถแสดงเว็บเพจ อีเมล แผนที่และปฏิทิน หนังสือดิจิทัล
     


หนังสือดิจิทัล

        ในปัจจุบันห้องสมุดมีจำนวนมากได้แปลงข้อมูลจากเอกสารที่เป็น Hard Copy เช่น หนังสือ วารสาร พจนานุกรม ฯลฯ ให้เป็นข้อมุลดิจิทัล ในรูปแยยหนังสือดิจิทัล (Digital Books) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) โดยบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อให้สามารถจัดเก็บหนังสือดิจิทัลได้มากกว่า 150 เล่ม หรือมากกว่า 56,000  หน้า
    นอกจากนี้หนังสือดิจิทัลยังสามารถเน้นข้อความ (Highlight) ได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนปากกา (Pen Input Device) ซึ่งสามารถใช้งานได้เหมือนปากกากับหนังสือทั่วไปอีกด้วย



แป้นพิมพ์เสมือน

      แป้นพิมพ์เสมือน (Virtual Keyboard: VKB) เป็นนวัตกรรมของอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าแบบไร้สาย สามารถใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาหรือโน้ตบุ๊ก (Notebook) พีดีเอ (PDA) และสมาร์ตโฟน (Smart Phones) เป็นต้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
      1. ลักษณะที่ใช้งานส่งสัญญาณด้วยแสงเลเซอร์และอินฟราเรดบนแผ่นราบที่มีขนาดเท่ากับแป้นพิมพ์ปกติผู้ใช้เพียงแต่สัมผัสบนแป้นพิมพ์เสมือน คำสั่งก็จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ทันที

    2. ส่วนอีกลักษณะหนึ่งตะติดเซ็นเซอร์ที่ปลอกนิ้วมือ เมื่อต้องการใช้สวมปลอกนิ้วมือนั้น เพื่อควบคุมการพิมพ์ การเคลื่อนไหวหรือการสัมผัส จากนั้นเซ็นเซอร์จะส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

  

ระบบสแกนม่านตา
       ระบบสแกนม่านตา มีหลักการทำงานโดยการสแกนข้อมูลทางกายภาพจากม่านตามาเปรียบเทียบข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล (ซึ่งจัดเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรอในบัตรอิเล็กทรอนิกส์) โดยทั่วไปนิยมใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตามบางแห่งนำมาใช้สำหรับบันทึกเวลาการทำงานด้วยระบบสแกนม่านตาในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่มีความถูกต้องและเที่ยงตรงมากกว่าระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ
แนวโน้มทางด้านซอฟต์แวร์


แนวโน้มทางด้านซอฟต์แวร์
    นวัตกรรมทางเทคโนโลยัอีกด้านหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วไม่หยุดหย่อนไปกว่าด้านฮาร์ดแวร์ คือ ด้านซอฟต์แวร์ (Software) เนื่องจากซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ จึงต้องมีการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องตามการพัฒนาทางด้านฮาร์ดแวร์ด้วยเช่นกัน แนวโน้มของเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 4 ลักษณะ คือ รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน รูปแบบของอินเตอร์เน็ต ดิจิทัลมิวสิกและรูปแบบการควบคุมระยะไกล

รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน
    รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะข้ระบบการทำงานผ่านกราฟิกกรือที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) ซึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์รู้จักกันในชื่อ WIMP (Windows, Icons, Pointer) ซึ่งจะติดต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการชี้ (Pointing) การคลิก (Clicking) และการลากแล้วปล่อยหรือการ
แดรก (Dragging) แนวโน้มเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ในรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานจะเน้นให้มีความเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับการดำเริรชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ภาษามนุษย์เพื่อสั่งการ การแสดงสีหน้าและการใช้กลิ่น เป็นต้น ซึ่งนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วยังรวมไปถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย เช่น เครื่องควบคุมการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศด้วยอุณหภูมิและเครื่องควบคุมโทรทัศน์ด้วยเสียง


อินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์

        ในอดีตการใช้อินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ (Internet and the Website) จะเน้นไปในเรื่องของการค้นหาขัอมูลและการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งอีเมล (E-mail) แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสื่อสาร เช่น Videoconferencing
    นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้สะดวกต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ Web Tablets ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก บางน้ำหนักเบา แต่มีความสามารถในการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมทั้งการนำอินเตอร์เน้ตไปผสมผสานกับความสามารถของโทรศัพท์และระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โทรศัพท์ค้นหาข้อมูลอินเตอร์เน็ต ส่งอีเมล สั่งซื้อสินค้ารวมถึงชมรายการสดต่าง ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น


web Tablets






ดิจิทัลมิวสิก
     ในปัจจุบันข้อมูลประเภทเพลงจำนวนมากได้ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัลมิวสิก (Digital Music) ทำให้สามารถดาวน์โหลดได้สะดวกรวดเร็วผ่านทางอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์ทางการตลาดจึงคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ซื้อแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้ามเทคโนโลยี MP3 จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยเทคโนโลยี MP4 ซึ่งมีความสามารถในการบีบอัดขนาดของไฟล์เพลงให้เล็กลงและสามารถโหลดได้อย่างรวดเร็ว จะมีการพัฒนาและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ การถ่ายโอนข้อมูลเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ จะสามารถกระทำได้ง่ายขึ้นทั้งในรูปขอข้อมูลเพลงข้อมูลภาพเคลื่อนไหวชนิด 3D ตลอดจนในรูปของไฟล์วิดีโอ
ระบบการควบคุมระยะไกล


   

 

 

 

 




ระบบการควบคุมระยะไกล

     การออกแบบบ้านในปัจจุบันได้มุ่งเน้นที่จะผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งมักเรียกบ้านผสมผสานเทคโนโลยีสมัยนี้ว่า “บ้านอัจฉริยะ” โดยมีลักษณะหรือรูปแบบให้เลือกอย่างหลากหลาย ด้วยการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในบ้านมาเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านมีความสามารถพิเศษเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องระบบการควบคุมระยะไกล (Remote Access) ตัวอย่างเช่น การสั่งการและควบคุมระบบรักษาความปลอดภัย การสั่งงานเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อื่น ๆ ผ่านทางอิเตอร์เน็ตจากที่ทำงานหรือทางโทรศัพท์มือถือ ตัวอย่าง เทคโนโลยีที่ควบคุมระยะไกลที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้กับตู้เย็นแล้วทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้นกับร้านค้า เมื่ออาหารในตู้เย็นใกล้หมดระบบก็จะส่งข้อความอัตโนมัติเพื่อให้ร้านค้านำสินค้ามาส่งให้ที่บ้าน เป็นต้น


แนวโน้มทางด้านการสื่อสารและเครือข่าย

     แนวโน้มทางด้านการสื่อสารและเครือข่าย (Communications and Networks) เพื่อใช้ในการรับและส่งข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน ในปัจจุบันแนวโน้มทางด้านการสื่อสารและเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารด้วยอุปกรณ์การสื่อสารในที่นี้จะแนะนำรูปแบบการสื่อสารและเครือข่ายที่กันในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ดังนี้



กิกะอีเทอร์เน็ต
      ในปี ค.ศ. 1970 บริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้อีเทอร์เน็ต (Ethernet) ในรูปแบบการเชื่อมโยงแบบบัส (Bus Network) โดยมีการรับ – ส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ความเร็ว 10 ล้านบิตต่อนาที จากนั้นในปี พ.ศ. 1995 สามารถรับ – ส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่ความเร็ว 100 ล้านบิตต่อวินาที ปัจจุบันความเร็วได้เพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าจากเดิมที่เคยใช้ซึ่งมีความเร็วในการรับ - ส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกือบเทียบเท่าความเร็วในเครื่องซูเปอร์คอมิวเตอร์ (Supercomputer) ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เช่น ธุระกิจด้านการเงิน อินเตอร์เน็ต และงานบริการต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกเทคโนโลยีดังกล่าวว่า เทคโนโลยีกิกะบิตอีเทอร์เน็ต
    เทคโนโลยีกิกะบิตเทอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) สามารถรับ – ส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ถึง 1,000 ล้านบิต (1 gigabit) ภายในเวลาเพียง 1 วินาทีนั้น






บลูทูธ


       บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีไร้สายสำหรับส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุ (Universal Radio Interface) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1998 โดยเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายในแถบความถี่ 2.45GHz ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถถือเคลื่อนย้ายหรือพกพา ทำให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไน้สายระหว่างกันในช่วงระยะใกล้ ๆ ได้
    บลูทูธถูกพัฒนาขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อใช้สื่อสารระบบการสื่อสารไร้สายระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น PDA (Personal Digital Assistant) โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile) ปาล์มท็อป (Palmtop) โน้กบุ๊ก (Notebook Computer) และพ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC) เป็นต้น ตัวอย่างเทคโนโลยีบลูทูธ ได้แก่ การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายดินเตอร์เน็ต โดยต้องมีระยะห่างไม่เกิน 10 เมตร ปัจจุบันบลูทูธได้รับความนิยมอย่างมากในการเชื่อต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่และการใช้งานหูฟังไร้สายแบบบลูทูธกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอนาคตการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธจะพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics) หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ด้วย เช่น การเชื่อต่อกับโปรเจ็กเตอร์ (Projector) เครื่องพิมพ์ (Printer) และสแกนเนอร์ (Scanner)




   

 

ไว - ไฟ

          ไว-ไฟ (Wi-Fi) ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity คือมาตรฐานรับรองอุปกรณ์ไวร์เลสแลน (Wireless LAN) และสนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.11b ไว-ไฟนำมาใช้งานได้เหมือนเกตเวย์ในลักษณะของการอัพโหลด (Upload) และการดาวน์โหลด (Download) ไฟล์ขนาดใหญ่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
    แนวโน้มในอนาคตของการให้บริการไว-ไฟจะขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะในสถานที่ใช้สำหรับติต่อธุรกิจหรือในสถานที่สำหรับการเดินทาง เช่น สนามบิน โรงแรม และศูนย์การค้า เป็นต้น

  

 

 

ไวแมกซ์

        ไวแมกซ์ (WiMAX) ย่อมาจาก Worldwide Interoperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระดับบอร์ดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 สามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุด (Point to Multipoint) ได้พร้อม ๆ กัน และสามารถส่งข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันจึงนิยมใช้งานกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีรัศมีทำการกว้างประมาณ 50 กิโลเมตร   



 

 

 



 

 

Foot in mouthคลิ๊กเพื่อกลับไปหน้าผลงานนักเรียนFoot in mouth

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 115,259 Today: 5 PageView/Month: 17

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...