สาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 By Jamadeck
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  


ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์

                ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่หน่วยงานขนาดเล็กไปจนถึงหน่วยงานขนาดใหญ่  ดังนั้นเมื่อมรการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานกันมากขึ้นจึงมีปัญหาใน เรื่องความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์  ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดไปยังระบบการทำงานได้  ผู้ที่มีความรู้ทางด้านการซ่อมบำรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืฮาร์ดแวร์จึงเป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงานสูงมาก บุคคลเหล่านี้ ได้แก่ ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์ (Hardware Maintenance Technicians) นั่นเอง

                ความสามารถของช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์นอกจากจะต้องสามารถซ่อมบำรุง  ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้ตามปกติแล้ว  ยังต้องสามารถซ่อมอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไดด้วย เช่น เครื่องพิมพ์และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น ในบางกรณีช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์อาจต้องเพิ่มคุณภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีความทันสมัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นในงบประมาณที่หน่วยงานกำหนดไว้

                ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์ที่ดี จะต้องเป็นบุคคลที่แสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ได้ ตลอดจนต้องติดตามและแก้ปัญหาการใช้งานอันเนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยจะติดต่อผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์สำรองข้อมูลต่างๆ เป็นสำคัญ


หลักการเตรียมตัวเพื่อการประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์

                ก่อนจะเลือกประกอบอาชีพในอนาคตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องทราบถึงความต้องการทางด้านวิชาการว่ามีศาสตร์สาขาวิชาแขนงใดบ้างที่มี ความสัมพันธ์กับอาชีพทางคอมพิวเตอร์  โดยทั่วไปสาขาวิชาที่สามารถเลือกศึกษาเพื่อทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลาก หลายสาขาวิชา เนื่องจากปัจจุบันเกือบทุกสาขาวิชาได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้และ จัดหลักสูตรใหม่ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการสำรวจตนเองว่ามีความสนใจที่จะประกอบอาชีพและ สนใจในงานด้านคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพียงใด สาขาวิชาหลักๆ ที่เกือบทุกสถาบันจะเปิดให้เลือกศึกษาและมีความเกี่ยวข้องกับอาชีพทาง คอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ได้แก่


สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

 

                สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)  จะศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผังงาน  ทั้งทางด้านเครือข่ายและสถาปัตยกรรมภายในของระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนระบบการผลิตอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การ์ดหรือแผงวงจรเพื่อควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะทำให้ สามารถติดต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากผู้ที่จบสาขานี้จะมีโอกาสทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ บริษัทหรือหน่วยงานเอกชนตลอดจนหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งซึ่งมีความต้องการ บุคลากรที่มีวุฒิทางการศึกษาด้านนี้จำนวนมาก ตำแหน่งที่จะได้รับจาก สาขานี้ ได้แก่ วิศวะระบบ  (System Engineer) และผู้จัดการระบบเครือข่าย (Sysyem or Network Managers)

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์


                สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) จะศึกษาทางด้านเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สนใจศึกษาในสาขานี้จะต้องเป็นผู้ที่สามารถประยุกต์และมีความคิดสร้าง สรรค์ที่จะผลิตอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในวงการวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้อุปกรณ์ใหม่ ๆ เหล่านั้นจะต้องนำมาปรับเข้ากับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างกลมกลืน บางครั้งผู้ศึกษาด้านสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์โปรแกรมเฉพาะด้านเพื่อให้ ใช้งานได้ตรงความต้องการด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์มาทำงาน ดังนั้นผู้ที่จบในสาขาวิชานี้จึงเป็นที่ต้องการของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อพัฒนางานทางด้านวิทยาการให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยมากผู้จบในสาขานี้จะได้รับตำแหน่งนักออกแบบและวิเคราะห์ระบบ (SystemAnalysis and Design)  และโปรแกรม (Programmer)

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ ต้องการเปลี่ยนทัศนคติทางอาชีพอย่างปัจจุบันทันด่วน เนื่องจากผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์สามารถจบวุฒิการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาสาขาวิชาใดก็ได้

                สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจะเน้นให้ความรู้ทางด้านโปรแกรมประยุกต์ (Application Software) โดยต้องพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมเพื่อใช้งานเฉพาะหน่วยงานนั้น ๆ กล่าวคือ เมื่อหน่วยงานใดต้องการโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะด้านของตนเอง ก็จะให้บริษัทสำหรับเขียนโปรแกรมมาช่วยออกแบบและวิเคราะห์ระบบงาน พร้อมทั้งเขียนโปรแกรมเพื่อช่วยรองรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ที่ศึกษาจบในสาขาวิชานี้จะได้ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยว กับการรับจ้างออกแบบและเขียนโปรแกรม โดยสามารถรับตำแหน่งได้ตั้งแต่ตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ ช่างซ่อมบำรุงผู้จัดการทางด้านสารสนเทศ จนถึงผู้ออกแบบและพัฒนาระบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสารถและประสบการณ์ในการทำงาน


              
Smile กลับไปที่เว็บผลงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 Smile

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 115,260 Today: 2 PageView/Month: 18

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...