สาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 By Jamadeck
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

Macromedia  Authorware 7


ลักษณะของ  Macromedia Authorware

                  Macromedia Authorware เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างงานประเภทสื่อการเรียนรู้หรือ CAI สามารถสร้างงานได้หลายระดับทั้งงานที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาไปเรื่อยๆ หรือมีลักษระโครงสร้างผังงานเป็นแบบเส้นตรง จนถึงการสร้างงานที่มีความสลับซับซ้อน สามารถเลือกหรือเชื่อมโยงไปมาได้หลายๆ ที่ในหน้าเดียว นอกจากนี้ยังสามารถสร้างงานที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อีกด้วย
          Macromedia Authorware มีการพัฒนาให้ใช้ไอคอนแมนคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ จึงไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง วิธีการพัฒนางานจะกระทำโดยการนำไอคอนที่ต้องการใช้ทำงานไปงางไง้บนเว้นโปรแกรม (Flow line) โดยวิธีการคลิกค้างแล้วลากหรือการแดรกเมาส์ สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ Macromedia Authorware ต้องคำนึงถึงก็คือ การซ้ำๆ กันหลายไอคอน หากตั้งชื่อให้สัมพันธ์กับงานก็จะช่วยให้สามารถแยกชิ้นงานและทราบว่ากำลังทำงานอยุ่ในส่วนใด
          จุดเด่นของ Macromedia Authorware คือในขณะที่ผู้ใช้งานกำลังพัฒนาโปรแกรมจะสามารถตรวจสอบผลงานได้ตลอดเวลา ทำให้รู้ข้อผิดจากงานนั้นและเรียนรู้งานเพิ่มขึ้นจากข้อผิดพลาดของตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้กลายเป็นบุคคลที่ระเบียบวินัยและมีความรอบคอบในการทำงานมากยิ่งขึ้น

 

 

  

 

 

การเรียกใช้ Macromedia Authorware 7

         ปัจจุบัน Macromedia Authorware 7 ได้พัฒนาโปรแกรมให้มีความสามารถมากชึ้นตามลำดับ โดยในที่นี้จะนำเสนอและยกจัวอย่าง Macromedia Authorware 7 เวอร์ชัน 7 ซึ่งขั้นตอนในการเรียกใช้
Macromedia Authorware 7 สามารถทำได้ดังนี้
1.    คลิกที่ไอคอน หรือคลิกที่ start
2.    คลิกเลือก All programs
3.    เลือกโปรแกรมชุด Macromedia
4.    คลิกเลือก Macromedia Authorware 7
5.    จะปรากฎหน้าจอโปรแกรม Macromedia Authorware 7


 

ส่วนประกอบของ Macromedia Authorware 7

          ลักษณะของส่วนประกอบในหน้าต่างแกรม Macromedia Authorware 7 เหมือนส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมอื่นๆ แต่จะมีที่แตกต่างในส่วนของคำสั่งเพื่อการใช้งาน ดังนี้

 

 

1.    แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) ทำหน้าที่บอกชื่อแกรมและชื่องานที่เปิดใช้ในขณะนั้น
2.    แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) ทำหน้าที่แสดงเมนูคำสั่ง
3.    แถบไอคอม (Icon Palette) เป็นเครื่องมือที่ใช้ไอคอนทำหน้าที่แทนคำสั่งของการเขียนแกรม


3.  

 

4.    แถบโปรแกรม (Flow line) เป็นเส้นสำหรับนำไอคอนไปวาง โดยจะแสดงผลตั้งแต่แต่ไอคอนแรกไปจนจถึงไอคอนสุดท้ายตามลำดับ
5.    หน้าต่างออกแบบงาน (Design Windows) เป็นพื้นที่สำหรับการออกแบบและกำหนดลำดับของไอคอนเพื่อแสดงผลงานตามต้องการ



การใช้ Macromedia Authorware 7
         
          Macromedia Authorware7 เป็นโปรแกรมสำหรับสร้องสื่อการสอนหรือ CAI เพื่อนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลต่างๆ การใช้ Macromedia Authorware 7 มีหลักการคล้ายๆ กับการใช้โปรแกรม Macromedia อื่นๆ แต่รายละเอียดย่อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่ต้องการ


การสร้างไฟล์ใหม่

         การสร้างไฟล์ใหม่ คือ การเริ่มต้นการทำงานหรือสร้างงานใหม่ โดย Macromedia Authorware 7 สามารถสร้างไฟล์ใหม่หลายวิธี ดังนี้
-    วิธีที่ 1 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->New->File หรือกดแป้น Ctrl+N
-    วิธีที่ 2 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->New->Library หรือกดแป้น Ctrl+Alt+N
-    วิธีที่ 3 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->New->Project หรือกดแป้น Ctrl+Shift+N
-    วิธีที่ 4 คลิกที่แถบเครื่องมือ เลือกไอคอน New

 


 

 

การบันทึกไฟล์
        

                    เมื่อมีการออกแบบสื่อการสอนตำเป็นจะต้องมีการบันทึกไฟล์ (Save) เพื่อให้สามารถนำชิ้นงานกลับมาใช้ในภายหลังได้  Macromedia Authorware 7 มีวิธีการนับบันทึกไฟล์หลายวิธี ดังนี้
-    วิธีที่ 1 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Save หรือกดแป้น Ctrl+S
-    วิธีที่ 2 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Save as ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือเปลี่ยนตำแหน่งในการบันทึกไฟล์
-    วิธีที่ 3 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Save and Compact ในกรณีที่ต้องการบีบอัดให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง
-    วิธีที่ 4 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Save All หรือกดแป้น Ctrl+Shift+S ในกรณีที่ต้องการบันทึกทุกไฟล์ที่ปิดอยู่ขณะนั้น
-    วิธีที่ 5 คลิกที่แถบเครื่องมือ เลือกไอคอน Save



การเปิดไฟล์
         
          วิธีการเปิดไฟล์งาน คือ การเปิดไฟล์เดิมที่เคยทำหรือบันทึกไว้ขึ้นมาใช้งาน โดย Macromedia Authorware สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
-    วิธีที่ 1 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Open->File หรือกดแป้น Ctrl+O
-    วิธีที่ 2 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Open->Library
-    วิธีที่ 3 คลิกที่แถบเมนูคำสั่ง เลือกคำสั่ง File->Open->ตามด้วยชื่อไฟล์ที่เคยเปิดใช้งาน
-    วิธีที่ 4 คลิกที่แถบเครื่องมือ เลือกไอคอน Open

 




      

Macromedia Authorware 7 มีความสามารถในการสร้างงานที่หลากหลาย ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะนำเสนอพื้นธานการสร้างงานในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้สร้างเกิดความเข้าใจอย่างรวดเร็ว ผู้สร้างสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้สร้างงานในขั้นสูงต่อไป การสร้างงานขั้นธานควรประกอบไปด้วย
1.    หน้าจอแรกสำหรับบอกให้ทราบว่าเป็นสื่อการสอนเรื่องอะไรหรือประเภทใด
2.    หน้าจอการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับโปรแกรมสื่อการสอนและการทักทาย
3.    การเลือกบทเรียน
4.    การทำแบฝึกหัด
5.    การออกจากโปรแกรม
เมื่อเปิด Macromedia  Authorware 7  แล้วปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


1.    นำไอคอน Display มาวางที่ Flow line แล้วตั้งชื่อไอคอนว่า “ต้อนรับ” เพื่อจะออกแบบหน้าต่างต้อนรับ วิธีนำไอคอนมาวางให้ใช้วิธี Drag ไอคอนแล้วมาปล่อยไว้บน Flow line



2.    ดับเบิลคลิก Display “ต้อนรับ”  จะมี Presentation Window ปรากฏขั้นมา ให้ตกแต่งและออกแบบตามต้องการ โดยมีเครื่องมือ  (toolbox) ให้เลือกใช้ดังนี้







แำถบเครื่องมือ

 ใช้สำหรับเลื่อนวัตถุหรือข้อความ


 ใช้สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม (ถ้ากดปุ่ม Shift ควบคู่กับการวาด จะทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส)


 ใช้สำหรับวาดรุปวงกลมและวงรี (ถ้ากดปุ่ม Shift  ควบคู่กับการวาดจะทำให้วงกลมที่วาดมีความกลม
สมส่วนมากขึ้น)


 ใช้สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยมแต่มุมโค้งมน


 ใช้สำหรับพิมพ์ข้อความ


 ใช้สำหรับวาดเส้นตรงที่เป็น180 องศา 90 องศา  และ  45  องศา เท่านั้น


 ใช้สำหรับวาดเส้นตรงแต่สามารถวาดเส้นในองศาที่ต้องการได้

 ใช้สำหรับวาดรูปหลายเหลี่ยม


 ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษรหรือข้อความและสีพื้นหลังของข้อความ


 ใช้กำหนดลักษณะของเส้นและหัวลูกศร


 ใช้กำหนดลักษณะของวัตถุที่สร้าง



การตกแต่งหน้าต่างงาน
    ผู้สร้างสามารถออกแบบหรือตกแต่งหน้าต่างที่นำเสนอข้อมูลได้ตามความต้องการ ดังนี้
การปรับแต่งตัวอักษร
    เมื่อออกแบบหน้าต่างแล้วต้องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร (Font)  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.    เลือกเครื่องมือ คลิกที่พื้นที่ว่างและพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
2.    ลากเมาส์คุมตัวอักษรทั้งหมดที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบ
3.    เลือกคำสั่งที่แถบคำสั่ง Text ไปที่ Font  เลือก Font ที่ต้องการ ถ้าไม่มีให้เลือก Other…..
4.    จะปรากฏหน้าจอ  Font  ขั้นมา  จากนั้นเลือก Font ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK

 

 

   

        นอกจากการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรแล้ว ในแถบคำสั่ง Text  ยังมีคำสั่งสำหรับเปลี่ยนลักษณะตัวอักษรอื่นๆ ได้ตามความต้องการอีก



นอกจากการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนสีตัวอักษร (Font  Color) และสีพื้นหลังของข้อความ (Shade)  ได้ดังนี้


1.    ถ้าตัองการเปลี่ยนสีตัวอักษรให้คลิกเลือกที่    และใช้เมาส์คลิกเลือกสีตามต้องการ
2.    ถ้าต้องการใส่สีให้กับพื้นหลังข้อความให้คลอกเลือกที่    และให้เมาส์คลิกเลือกสีตามต้องการ

 



การใส่สีพื้นหลังให้กับหน้าต่างงาน
    พื้นหลังของหน้าต่างงานสามารถเปลี่ยนสีได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1. คลอกที่  Modify ไปที่ File ไปที่ Properties ที่แถบเมนูคำสั่ง
2. จะปรากฏหน้าต่าง  Properties  ขึ้นมา ให้ใช้เมาส์คลิกที่  Colors :  Background
3. เลือกสีจากตารางสี  จากนั้นคลิก OK

 




การแทรกรูปภาพ

         การออกแบบหน้าต่างงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาสวยและสะดุดตามากขึ้น เราสามารถนำภาพมาตกแต่งได้ดังนี้
1.    คลิกคำสั่ง  Inset ไปที่ Image  ที่แถบเมนูคำสั่ง
2.    จะปรากฏหน้าต่าง  Properties  ขึ้นมาให้คลิกที่ปุ่ม  Import
3.    จะปรากฏหน้าต่าง Import Which File? ให้เลือกรูปภาพที่ต้องการแทรก จากนั้นคลิกปุ่ม  Import  แล้วคลิกปุ่ม  OK  อีกครั้งหนึ่ง


 

 

 


การสร้างชิ้นงานเป็นลำดับลำดับขั้นตอน

            เมื่อสามารถตกแต่งหน้าต่างชิ้นงานได้แล้ว ลำดับต่อไปเป็นการยกตัวอย่างการสร้างชิ้นงานเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำเสนอ ดังนี้


        1.สร้างไอคอน ต้อนรับ และออกแบบภายในไอคอนตามต้องการ ดังที่ได้นำเสนอไปแล้ว


        2.ลากไอคอน wait มาวางต่อไอคอนต้อนรับ ตั้งชื่อว่า รอ จากนั้นดับเบิลคลิกที่ไอคอน จะปรากฏหน้าต่าง properties: wait Icon กำหนดค่าใน time limit=5 หมายความว่าต้องการให้หน่วงเวลา 5 นาที เลือก event เป็นแบบ mouse click และ key pass หมายความว่า ผู้ใช้สามารถคลิกที่ใดหรือกดแป้นใดก็ได้ในกรณีที่ไม่ต้องการรอถึง 5 วินาที

         3.นำไอคอน erase มาวางต่อ ตั้งชื่อว่า ลบ แล้วดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอนลบ จะปรากฏหน้าต่าง properties: erase icon ให้คลิกวัสดุหรือข้อความที่หน้าต่าง ต้อนรับ สังเกตเห็นว่าจะปรากฏชื่อ ต้อนรับ ที่หน้าต่าง properties: erase icon

 

                 4.นำไอคอน interaction มาวางบนเส้นโปรแกรม ตั้งชื่อว่า ทักทายและนำไอคอน calculation วางต่อด้านข้าง (ห้ามวางต่อบนเส้นโปรแกรม) จะปรากฏหน้าต่างถามลักษณะการโต้ตอบให้เลือกแบบ text entry แล้วตั้งชื่อไอคอน *

 

 

        5.ดับเบิลคลิกที่ไอคอน calculation ชื่อ * พิมพ์ ตัวแปร name:=


        6.คลิกที่ไอคอน variables บนแถบเครื่องมือ จะปรากฏหน้าต่าง variables ให้เลือกตัวแปรที่ชื่อ entry text แล้วคลิกปุ่ม paste โปรแกรมจะพิมพ์สูตรให้ดังนี้ name:= entry text เมื่อได้สูตรตามต้องการแล้วให้คลิกปุ่ม done


        7.โปรแกรมจะถามให้บันทึกตัวแปร จะต้องคลิกที่ yes ปรากฏหน้าต่าง new variable คลิกที่ ok


        8.ดับเบิลคลิกที่ไอคอน interaction ชื่อ ทักทาย จะพบกล่องข้อความสำหรับพิมพ์ชื่อผู้ใช้โปรแกรม ให้ออกแบบตกแต่งหน้าต่างงาน ทักทาย ตามความต้องการ
       


        9.ดับเบิลคลิกจุด…ที่เชื่อมระหว่างไอคอน interaction กับไอคอน calculation จะปรากฏหน้าต่าง properties: response [*] ขึ้นมา คลิกที่ response ในช่อง branch ให้คลิกเลือก exit interaction สังเกตว่าเส้นจะเปลี่ยนไป



        10.นำไอคอน display มาวางต่อบนเส้นโปรแกรม ตั้งชื่อว่า สวัสดี ดับเบิลคลิกเขาไป จากนั้น ออกแบบโดยให้ใส่คำพูดทักทายไว้ว่า สวัสดีคุณ {entrytext} ซึ่งเมื่อแสดงผลลัพธ์โปรแกรมจะนำชื่อที่ผู้ใช้ใส่ไว้หน้าก่อนนี้มาใส่ต่อท้ายแทน {entrytext}
      


        11.นำไอคอน wait มาวางต่อตั้งชื่อ รอ กำหนดให้รอประมาณ 3 วินาที เลือก event แบบ mouse click และ key pass เหมือนข้อ 2 นำไอคอน erase มาวางต่อตั้งชื่อว่าลบ ตั้งค่าให้ลบหน้าต่างงานสวัสดี เหมือนข้อ 3 จากนั้นนำไอคอน interaction มาวางต่อบนเส้นโปรแกรมตั้งชื่อว่า หน้าหลัก



        12.นำไอคอน display มาวางต่อด้านข้าง เลือกแบบโต้ตอบเป็น button โดยตั้งชื่อเหมือนหัวข้อของเนื้อหานั้น ทำเช่นนี้เท่ากับจำนวนหัวข้อทั้งหมดที่ต้องการนำเสนอ



        13.ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน interaction ชื่อ หน้าหลัก จะพบไอคอน หัวข้อที่สร้างไว้ ให้ตกแต่ง และออกแบบหน้าต่างนำเสนอเนื้อหาตามความต้องการโดยต้องเว้นพื้นที่บริเวณตัวหนังสือเมื่อคลิกที่ไอคอนเนื้อหาด้วย


        14.เข้าไปในไอคอน display ของหัวข้อแต่ละไอคอน เพื่ออกแบบให้เป็นเนื้อหาแต่ละส่วน โดยเนื้อหาที่แสดงจะปรากฏในช่องว่างที่ออกแบบไว้ในข้อ 13



         15.นำไอคอน display มาวางต่อด้านข้าง display หัวข้อเนื้อหาทั้งหมด ตั้งชื่อว่า แบบฝึกหัด ดับเบิลคลิกที่จุดเชื่อมต่อระหว่างไอคอนของ display แบบฝึกหัด คลิกที่ response ในช่อง branch คลิกเลือก exit interaction และในช่อง erase คลิกเลือก do not erase


         16.ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน display ของ  แบบฝึกหัด พิมพ์คำสั่งของแบบฝึกหัด เช่นจงเลือก คำตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอนหน้าหลักจะสังเกตเห็นปุ่มแบบฝึกหัดเพิ่มขึ้นมา จัดและตกแต่งหน้าต่างของไอคอนหลักเพิ่มเติม


         17.นำไอคอน interaction มาต่อด้านล่างของเส้นโปรแกรม ตั้งชื่อว่า แบบฝึก นำไอคอน map มาต่อด้านข้างของไอคอน interaction กำหนดแบบโต้ตอบเป็น button ตามจำนวนของตัวเลือกที่ต้องการ โดยตั้งชื่อตามตัวเลือกของคำตอบ



         18.ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน interaction ปรากฏปุ่มเท่าจำนวนที่สร้างไอคอน map ไว้ให้ออกแบบและตกแต่งหน้าต่างแบบฝึกที่ต้องการ


         19.ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน map ที่ถูกต้อง จะปรากฏ level 2 ให้ลาก display วางบนเส้นโปรแกรมตั้งชื่อว่า ถูกต้อง จากนั้นดับเบิลคลิกเข้าไปใน display ชื่อ ถูกต้องเพื่อ พิมพ์คำชมเชยเช่น เก่งมาก จัดวางในตำแหน่งที่ออกแบบไว้


         20.ดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน map ที่เหลือและทำเหมือนไอคอน map ที่ถูกต้อง แต่เปลี่ยนคำชมเชยเป็นคำให้กำลังใจเนื่องจากผิดแทน



         21.ลำดับสุดท้ายของการสร้างงานคือ การสร้างไอคอนสำหรับออกจากโปรแกรมปฎิบัติโดยการนำไอคอน calculation วางต่อด้านข้างไอคอน map ตั้งชื่อว่า ออก แล้วดับเบิลคลิกเข้าไปในไอคอน map ออก พิมพ์ Quit(0)


         22.เมื่อเปิดหน้าต่างไอคอน map ออก โปรแกรมจะถามให้บันทึกตัวแปรให้คลิกที่ yes ปรากฏหน้าต่าง new variable ให้คลิกที่ ok จากนั้นเข้าไปในไอคอน interaction แบบฝึกปรากฏปุ่มออก เพิ่มขึ้นมา ให้จัดตกแต่งหน้าต่างอีกครั้งตามความต้องการ



Smileคลิ๊กเพื่อกลับไปหน้าเริ่มต้นผลงานนักเีรีัยนSmile

 

 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 115,258 Today: 4 PageView/Month: 16

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...