สาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 By Jamadeck
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) คืออะไร
    คือ รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น เขตข้อมูล(Field), แถวลำดับ(Array), ระเบียน(Record), ต้นไม้(Tree), ลิงค์ลิสต์(Link List) เป็นต้น
    คือ รูปแบบวิธีการจัดระเบียบของข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Operations) เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้
    คือ การรวบรวมข้อมูลเป็นกลุ่มอย่างมีรูปแบบ เพื่อให้การนำข้อมูลกลับมาใช้ หรือประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยขั้นตอนวิธีที่หลากหลาย แล้วนำเสนอได้อย่างถูกต้องรวดเร็วตามลักษณะงานที่ต้องการ
    คือ การนำกลุ่มของข้อมูลขนาดใหญ่มาจัดรูปแบบ เพื่อให้เครื่องประมวลผลและแสดงผลอย่างมีขั้นตอน โดยเริ่มจากการรวบรวม เพิ่ม ลบ หรือเข้าถึงข้อมูลแต่ละรายการ

 

ตัวอย่างข้อมูล
ภาษาปาสคาล
    r : real;
    i : integer;
    c : char;
    s : string;
    s20 : array[1..20] of char;

ภาษาซี
    bool b; b = true;
    char c; c = 'a';
    int ar1[30]; ar1[0]=555;
    int ar2[3]={55,66,77};

ภาษาจาวา
    // boolean, char
    // byte, short, int, long
    // float, double

ภาษาวีบี
    ' 17 type : boolean, byte, char, date
    ' decimal, double, integer, long, object
    ' sbyte, short, single, string, uinteger
    ' ulong, user-defined, ushort
    ' s คือ signed และ u คือ unsigned



ศัพท์เทคนิค (Technical Terms)

1.  phrase "a picture is worth a thousand words"
2.  โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยแบบของข้อมูลเบื้องต้น คือ 1)บิท(Binary) 2)อักขระ(Character) 3)ฟิลด์(Field) 4)เรคอร์ด(Record) 5)ไฟล์(File) 6)ฐานข้อมูล(Database)
3.  วิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) คือ การแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นส่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาแต่ละส่วน
4.  อัลกอริทึม (Algorithm) (มีความเป็นนามธรรมอยู่ในตัวเป็นธรรมชาติ)
    คือ กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหา
    คือ ขั้นตอนวิธีที่ประกอ้บด้วยชุดคำสั่งเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูก ต้องตามต้องการ 
    คือ รูปแบบของการกำหนดการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และแยกแยะ เพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามลำดับขั้น อาจเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความถนัด เพื่อนำเสนอขั้นตอนของกิจกรรมก็ได้ 
5. รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code)
    คือ รหัสจำลองที่ใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึม โดยมีถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ไม่ขึ้น กับภาษาคอมพิวเตอร์ใดภาษาหนึ่ง 
    คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ง่าย อาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนและ กิจกรรมที่จะนำเสนอ มักใช้รูปแบบคล้ายประโยคภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม
6. ผังงาน (Flowchart)
    คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่า
    คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความ ทำได้ยากกว่า [#]
7. การโปรแกรมโครงสร้าง (Structured Programming) คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) 2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision หรือ Selection) และ 3)การทำงานแบบทำงานซ้ำ (Repetition หรือ Iteration หรือ Loop) 

8. 8. อาร์เรย์ (Array)
    คือ ชุดของข้อมูลในชื่อเดียวกันที่มีได้หลายสมาชิก โดยสมาชิกถูกจัดเรียงเป็นลำดับ และมีรูปแบบเป็นแบบใดแบบหนึ่ง
    คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวกันแทนข้อมูลสมาชิกได้หลาย ๆ ตัวในคราวเดียวกัน ด้วยการใช้เลขดรรชนี (Index) หรือซับสคริปต์ (Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกบนแถวลำดับนั้น ๆ
9. โอเปอเรชั่น (Operation) คือ การกระทำที่สามารถทำกับโครงสร้างนั้น เช่น โอเปอเรชั่นของอาร์เรย์ ได้แก่ 1)การท่องเข้าไป (Traversal) 2)การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ(Searching) 3)การแทรกข้อมูลใหม่(Insertion) 4)การลบข้อมูล (Deletion) 5)การเรียงกลับหลัง(Reversing) 6)การเรียงลำดับ(Sorting)
10. นามธรรม (Abstract) คือ เป็นแนวทางพื้นฐานของมนุษย์ที่ใช้จัดการกับความซับซ้อน (Grady Booch)  โดยเรื่องราวของนวนิยายเป็นจินตนาการในหัวของผู้เขียนถือเป็นนามธรรม เมื่อถ่ายทอดผ่านตัวแทน (Representation) ทางหนังสือด้วยภาษาต่าง ๆ ก็จะออกมาเป็นรูปธรรม ดังนั้นการเขียนโปรแกรมต้องเริ่มต้นด้วยนามธรรม หรือจินตนาการจัดการความซับซ้อนก่อนนำเสนอเป็นรูปธรรม เพื่อประมวลผล
11. ชนิดข้อมูลนามธรรม (Abstract Data Type) คือ เครื่องมือกำหนดโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบด้วยชนิดของโครงสร้างข้อมูล รูปแบบการดำเนินการ หรือแยกได้ 3 ส่วนคือ รูปแบบข้อมูล (Element) โครงสร้าง (Structure) และ การดำเนินการ (Operations)
12. โปรแกรม (Program) คือ ตัวแทนของอัลกอริทึม
13. โปรเซส (Process) คือ กิจกรรมที่ประมวลผลตามขั้นตอนของอัลกอริทึม





ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ

การพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 7 ขั้นตอน

1. กำหนดปัญหา (Define the Problem)
2. ร่างรายละเอียดแนวทางแการแก้ไขปัญหา (Outline the Solution)
3. พัฒนาอัลกอริทึม (Develop Algorithm) อาจนำเสนอด้วย Flowchart, DFD, ER หรือ UML
4. ตรวจสอบความถูกต้องของอัลกอริทึม (Test the Algorithm for Correctness)
5. เขียนโปรแกรม (Programming)
6. ทดสอบโปรแกรม (Testing)
7. จัดทำเอกสารและบำรุงรักษาโปรแกรม (Document and Maintain the Program)


กรรมวิธีการออกแบบโปรแกรม (Program Design Methodology)

- การออกแบบโปรแกรมแบบ Procedure-Driven
- การออกแบบโปรแกรมแบบ Event-Driven
- การออกแบบโปรแกรมแบบ Data-Driven


การเขียนโปรแกรมแบบ Procedural และ Object-Oriented
- การเขียนโปรแกรมแบบบนลงล่าง (Top-Down Development)
- การออกแบบโปรแกรมในลักษณะโมดูล (Modular Design)
- การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming)

คือการโปรแกรมที่ให้ความสำคัญกับการรวมวัตถุ และกระบวนการได้ด้วยกัน เพื่อสืบทอด (Inheritance) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (reused)
โดยการนำทั้งวัตถุ และกระบวนการมารวมกัน มักเก็บไว้ใน Class ซึ่งหมายถึง ต้นแบบของวัตถุ

ตัวอย่าง โปรแกรมแบบ Top-Down ด้วยภาษา Pascal
program p01;
begin
Writeln('burin');
Writeln('rujjanapan');
end.
 


คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เช่น + - * / ^ ( ) [3]p.164
x = 4 / 2 + 4 ^ 2 - 1 * 2 + 3 19 กด Ctrl + A = คำตอบ
y = 36 / (2 + 4) ^ 2 - 1 * 2 + 3 2
z = 4 / 2 + 4 ^ (2 - 1) * 2 + 3 13

ตัวอย่าง โปรแกรมแบบ Modular ด้วยภาษา Pascal
program p02;
procedure xName;
begin
Writeln('burin');
end;
begin
xName;
end.

ตัวอย่าง โปรแกรมแบบ OOP ด้วยภาษา Java
class father {
String n;
private void pname () {
n = "burin";
return n;
}
}
class child extends father {
child() {
n = "rujjanapan";
System.out.println(pname()); // yonok
}
public static void main(String[] a) {
new child();
}
private void pname () {
n = "yonok";
return n;
}
}





อัลกอริทึม (Algorithm)

    การเขียนอัลกอริทึมมี ประเด็นต้องพิจารณาหลายเรื่อง คือ 1)วัตถุประสงค์ 2)เหตุการณ์ก่อนประมวลผล 3)ค่าของพารามิเตอร์ทั้งก่อนและหลังประมวลผล 4)สิ่งที่ได้หลังประมวลผล 5)ลำดับเหตุการณ์ระหว่างประมวลผล

ต.ย. อัลกอริทึมที่ 1 : ต้มมาม่า
1. หามาม่าไว้ 1 ซอง
2. ฉีกซองมาม่าและเทลงถ้วยเปล่า
3. ฉีกซองเครื่องปรุง แล้วเทลงถ้วยเดิม
4. ต้มน้ำให้ร้อนได้ที่ แล้วเทลงถ้วย
5. ปิดฝาไว้ 3 นาที
6. เปิดฝา แล้วรับประทาน

   

คำถาม : ต้มมาม่า
1. มีขั้นตอนใดสลับกันได้
2. ถ้าเปลี่ยนข้อความ จะเปลี่ยนอย่างไร
3. ถ้าทำหลายถ้วยจะทำอย่างไร
? คน 3 คนใครอายุมากที่สุด และเป็นเท่าใด


ต.ย. อัลกอริทึมที่ 2 : หาค่าเฉลี่ย ใช้ Pseudo Code 
1. set variable
2. loop
1. read number into variable
2. add number to total
3. increase counter
3. end loop
4. set average = total / counter
5. print average

คำถาม : หาค่าเฉลี่ย
1. เขียนเป็นภาษาไทยอย่างไร
2. แต่ละบรรทัดในจาวาคืออะไร
3. สลับบรรทัดใดในจาวาได้บ้าง
4. ไม่มีตัวแปร avg จะได้หรือไม่
1.


2.



3.
4.
5.
ภาษาจาวา
byte x;
int i = 0;
int total = 0;
while (i < 5) {
x = System.in.read();
total = total + x;
i++;
}
double avg = total/i;
System.out.println(avg);




ปฏิบัติการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์

โครงสร้างหน่วยความจำ (Memory Architecture)
การจัดสรรหน่วยความจำ (Memory Allocation)
- แบบคงที่ (Static)
- แบบเปลี่ยนแปลงได้ (Dynamic)
ตารางแฟท (FAT = File Allocatio Table)
- Directory Table
- Memory Pointer
File Attribute
- Archive file
- System file
- Readonly file
- Hidden file









ต.ย. แฟ้ม adisinit.exe มีขนาด 35.1 KB ใช้พื้นที่ 9 Block ๆ ละ 4 KB
เพราะเครื่องนี้แบ่ง 1 Cluster มีขนาด 8 Sectors


ชนิดข้อมูลนามธรรม (Abstract Data Type : ADT)

ชนิดข้อมูลนามธรรม (Abstract Data Type) คือ เครื่องมือกำหนดโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบด้วยชนิดของโครงสร้างข้อมูล รูปแบบการดำเนินการ หรือแยกได้ 3 ส่วนคือ รูปแบบข้อมูล (Element) โครงสร้าง (Structure) และ การดำเนินการ (Operations)



แบบประเภทข้อมูลตามลักษณะีความสัมพันธ์ในข้อมูล
1. ข้อมูลเชิงเดี่ยว (Atomic Data)
2. ข้อมูลเชิงประกอบ (Composite Data)
ชนิดข้อมูลนามธรรม (ADT) มิใช้โครงสร้างข้อมูล
แต่เป็นรูปแบบระดับแนวคิดหรือรูปแบบข้อมูลเชิงลอจิคอล
1. รูปแบบข้อมูลเชิงลอจิคอล (Logical Form) เ็ป็นการนิยามด้วย ADT
2. รูปแบบข้อมูลเชิงฟิสิคัล (Psysical Form) เป็นการนำ ADT มาใช้

ประสิทธิภาพของอัลกอริทึม (Algorithm Efficiency)

ประเด็นที่ใช้วัดประสิทธิภาพ 

1. เวลาที่ใช้ประมวลผล (Running Time)

2. หน่วยความจำที่ใช้ (Memory Requirement)

3. เวลาที่ใช้แปลโปรแกรม (Compile Time)

4. เวลาที่ใช้ติดต่อสื่อสาร (Communication Time)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการประมวลผล

1. ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ (CPU, Main Board)

2. อัลกอริทึมที่ออกแบบเพื่อใช้งาน

3. ประสิทธิภาพของตัวแปลภาษา

4. ชุดคำสั่งที่สั่งประมวลผลเครื่องคอมพิวเตอร์

5. ขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์

6. ขนาดของข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์จากการประมวลผล
- การวัดประสิทธิภาพของอัลกอริทึม (Efficiency Algorihm)
คือ วัดจากพื้นที่ทำงาน และเวลา แต่กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีศักยภาพสูง การวัดประสิทธิภาพจากเวลาอาจไม่เห็นความแตกต่าง
- การวิเคราะห์บิ๊กโอ (Big-O Analysis)
คือ การวัดประสิทธิภาพของอัลกอริทึมจากความเร็วในการทำงาน โดยพิจารณาไปที่จำนวนรอบ และเวลา
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนจาก f() มาเป็น big-o notaion เพื่อใช้ big-o วัดประสิทธิภาพของอัลกอริทึม
- ขั้นตอนการเปลี่ยน f() เป็น Big-o Notation
1. ปรับฟังก์ชันให้อยู่ในรูปสัมประสิทธิ์อย่างง่าย คือตัดตัวประกอบออก ให้เหลือเพียงค่าของโพลิโนเมียน (คือ n ยกกำลัง)

f(n) = n( (n + 1) / 2 )

= ((1/2)(n ^ 2)) + (1/2(n))

= (n ^ 2) + n
2. ตัดค่าของตัวประกอบออก

= n ^ 2
3. นำฟังก์ชันมาตรฐานมาเขียนในรูปของ Big-o Notation

O(f(n)) = O(n ^ 2)
  - ต.ย.1 จงหาผลบวกของการบวกจำนวนที่เริ่มต้นตั้งแต่ 1 - 10
    ฟังก์ชัน คือ f(n) = n( (n + 1) / 2 )
    = ((1/2)(n ^ 2)) + (1/2(n))
    = (n ^ 2) + n
    = n ^ 2
    O(f(n)) = O(n ^ 2)
  - ต.ย.2 จงแปลง  f(n) = a*n^k + a*n^k-1 +  .. a*n^0 เป็น Big-O Notation
    ฟังก์ชัน คือ f(n) = a*n^k + a*n^k-1 +  .. a*n^0
    = n^k + n^k-1 +  .. n^0 (ปรับให้อยู่ในรูปสัมประสิทธิ์อย่างง่าย)
    = n^k (ตัดค่าของตัวประกอบออก)
    O(f(n)) = O(n ^ k) (เขียนในรูปของ Big-O Notation)
  - ต.ย.3 จงแปลง  f(n) = 4n + 7 เป็น Big-O Notation
    ฟังก์ชัน คือ f(n) = 4n + 7
    = n + 7 (ปรับให้อยู่ในรูปสัมประสิทธิ์อย่างง่าย)
    = n (ตัดค่าของตัวประกอบออก)
    O(f(n)) = O(n) (เขียนในรูปของ Big-O Notation)
  - ต.ย.4 จงแปลง  f(n) = 1009 เป็น Big-O Notation
    ฟังก์ชัน คือ f(n) = 1009
    = 1009 (ปรับให้อยู่ในรูปสัมประสิทธิ์อย่างง่าย)
    = 1 (ตัดค่าของตัวประกอบออก)
    O(f(n)) = O(1) (เขียนในรูปของ Big-O Notation)



การทำซ้ำ หรือลูป มีหลายแบบ
- ลูปแบบเชิงเส้น (Linear Loops)
- ลูปแบบลอการิธมิค (Logarithmic Loops)
- ลูปแบบซ้อน (Nested Loops)


ลูปแบบเชิงเส้น (Linear Loops)
    f(n) = n
    for (i=0; i< n; i++)
    application code
    f(n) = n / 2
    for (i=0; i< n; i+=2)
    application code
ลูปแบบลอการิทึม (Logarithmic Loops)
    f(n) = logn
    for (i=0; i< n; i*=2)
    application code
    f(n) = log2n
    for (i=0; i< n; i/=2)
    application code
ลูปแบบซ้อน (Nest Loops)
ลูปแบบซ้อนชนิดกำลังสอง (Quadratic)

    f(n) = n^2
    for (i=0; i< n; i++)
    for (j=0; j< n; j++)
    application code
ลูปแบบซ้อนชนิดลอการิทึมเชิงเส้น (Linear Logarithmic)
    f(n) = nlogn
    for (i=0; i< n; i++)
    for (j=0; j< n; j*=2)
    application code
ลูปแบบซ้อนกำลังสองชนิดขึ้นต่อกัน (Dependent Quadratic)
    f(n) = n( (n + 1) / 2 )
    for (i=0; i< n; i++)
    for (j=0; j< i; j++)
    application code


เปรียบเทียมประสิทธิภาพของ Big-O กับความเร็วของยวดยาน ดังนี้
+ O(1) เหมือนเครื่องว๊าบ หรือเครื่องย้ายมวลสาร คือ ไกลแค่ไหนไม่เกี่ยว
+ O(log n) เหมือนเครื่องบินโดยสาร
+ O(n) - เหมือนรถฟอร์มูล่าวัน ระยะทางไกลขึ้น ก็ขับนานขึ้น
+ O(n log n) - เหมือนรถยนตทั่วไป ยิ่งไกลยิ่งช้า
+ O(n^2) - เหมือนมอร์เตอร์ไซด์
+ O(n^3) - เหมือนจักรยาน
+ O(2^n) - เหมือนคนเดิน





อาร์เรย์ (Array)

คือ ชุดของข้อมูลในชื่อเดียวกันที่มีได้หลายสมาชิก โดยสมาชิกถูกจัดเรียงเป็นลำดับ และมีรูปแบบเป็นแบบใดแบบหนึ่ง
    คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวกันแทนข้อมูลสมาชิกได้หลาย ๆ ตัวในคราวเีีดียวกัน ด้วยการใช้เลขดรรชนี (Index) หรือซับสคริปต์ (Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกบนแถวลำดับนั้น ๆ
    - อาร์เรย์หนึ่งมิติ (One Dimension Array)
        รูปแบบของอาร์เรย์ คือ arrayname[L:U]
        arrayname คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ เช่น x[5]
        L คือ ขอบเขตล่างสุด (Lower Bound)
        U คือ ขอบเขตบนสุด (Upper Bound)
        จำนวนสมาชิก = U - L + 1
    - อาร์เรย์สองมิติ (Two Dimension Array)
        จำนวนสมาชิก = (U1 - L1 + 1) * (U2 - L2 + 1)
        ตัวอย่างอารย์เรย์ ภาษาเบสิก เช่น Dim x(7, 24) As Byte
        ตัวอย่างอารย์เรย์ ภาษาซี เช่น int a[][] = new int[4][3];
        ตัวแรกมักหมายถึง แถว (rows) ตัวที่สองหมายถึง หลัก (columns)
    - เมทริกซ์ คล้ายกับอาร์เรย์ 2 มิติ
    - ตำแหน่งในหน่วยความจำ
        B คือ ตำแหน่ง หรือแอดเดรสเริ่มต้น (Base Address)
        w คือ จำนวนช่องของหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลต่อหนึ่งสมาชิก
        ตำแหน่งในหน่วยความจำ LOC( a[i] ) คือ B + w (i - L)


อาร์เรย์สามมิติ






เรคอร์ด (Record)
ระเบียนข้อมูล หรือเรคอร์ด




ตารางข้อมูลในฐานข้อมูล NorthWind ประกอบด้วย 8 ตาราง คือ
Categories, Customers, Shippers, Products,
Orders, Order Details, Employees, Suppliers






ลิงค์ลิสต์ (Linked List)

ลิสต์ (Lists) หรือรายการ ถือเป็นการจัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งข้อมูลเชื่อมต่อกันแบบเชิงเส้น แต่ละข้อมูลมักเรียกว่า อีลิเมนต์ (Element) หรือสมาชิก (Member) โดยแบ่งโดยพื้นฐานได้ 2 แบบคือแบบทั่วไป (General) และแบบจำกัด (Restricted) ซึ่งแนวคิดของลิงค์ลิสต์จะกำหนดให้แต่ละสมาชิกจะประกอบด้วย ข้อมูล (Data) และลิงก์ (Link) โดยข้อมูลอาจประกอบด้วยหลายฟิลด์ก็ได้
การดำเนินงานพื้นฐานของลิสต์ (Basic Operations of List)
1. การแทรก (Insertion)
2. การลบ (Deletion)
3. การปรับปรุง (Updation)
4. การท่องเข้าไปในลิสต์ (Traversal)




ตัวชี้ข้อมูลด้วยภาษาปาสคาล
Binary Tree
type
nodeptr = ^trnode;
trnode = record
data : integer;
leftptr : nodeptr;
rightptr : nodeptr;
end;

ตัวชี้ข้อมูลด้วยภาษาซี
Abstract Data Type ของ คิว
typedef struct node {
void* dataptr;
struct node* next;
} QUEUE_NODE;
typedef struct {
QUEUE_NODE* front;
QUEUE_NODE* rear;
int count;
} QUEUE;
QUEUE* createQueue (void);
bool enqueue (QUEUE* q, void* itemptr);
สร้างคิว 
var root : nodeptr;
begin
maket(root);

procedure maket(var t:nodeptr);
begin
new(t);
t^.data := 123;
t^.leftptr := nil;
t^.rightptr := nil;
end;
สร้างคิว
QUEUE* createQueue (void) {
QUEUE* q;
q = (QUEUE*) malloc (sizeof (QUEUE));
if (q) {
q->front = NULL;
// node ชี้ตัวแรก
q->rear = NULL;
// node ชี้ตัวสุดท้าย
q->count = 0;
}
}
เพิ่มข้อมูลในคิว 
new(n);
inserted := false;
o := t;
while not inserted do begin
if num <= o^.data then
if o^.leftptr <> nil then
o := o^.leftptr;
else begin
o^.leftptr := n;
inserted := true;
end
else
if o^.rightptr <> nil then
o := o^.rightptr;
else begin
o^.rightptr := n;
inserted := true;
end;
end;
n^.data := num;
n^.leftptr := nil;
n^.rightptr := nil;
เพิ่มข้อมูลในคิว
bool enqueue (QUEUE* q, void* itemptr) {
QUEUE_NODE* newptr;
if (!(newptr = (QUEUE*) malloc (sizeof(QUEUE))))
return false;
newptr->dataptr = itemptr;
newptr->next = NULL;
if (q->count == 0)
q->front = newptr;
else
q->rear->next = newptr;
(q->count)++;
q->rear = newptr;
return true;
}




สแต็ก (Stack)

- Push คือ เพิ่มข้อมูลลงสแต็ก
- Pop คือ นำข้อมูลบนสุดไปใช้ และลบออกจากสแต็ก
- Stack Top คือ นำข้อมูลบนสุดไปใช้ แต่ไม่ลบออกจากสแต็ก
- Infix คือ นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ทั่วไปที่เราใช้กัน
- Postfix คือ นิพจน์ที่โอเปอเรเตอร์อยู่หลังโอเปอแรนต์ เช่น AB+
- Prefix คือ นิพจน์ที่โอเปอเรเตอร์อยู่หน้าโอเปอแรนต์ เช่น +AB


กฎเกณฑ์สำหรับการแปลงนิพจน์ Infix มาเป็นนิพจน์ Postfix [3]p.160
ขั้นตอนที่ 1. ใส่เครื่องหมายวงเล็บให้ทุกนิพจน์ แยกลำดับการคำนวณ เช่น คูณ หาร มาก่อน บวก ลบ
ขั้นตอนที่ 2. เปลี่ยนสัญลักษณ์ Infix ในแต่ละวงเล็บให้มาเป็นสัญลักษณ์แบบ Postfix โดยเริ่มจากวงเล็บในสุดก่อน
ขั้นตอนที่ 3. ถอดวงเล็บออก


ต.ย. 1 A - B / C
ขั้นตอนที่ 1 :

A - (B / C)
ขั้นตอนที่ 2 :

A - (BC /)

A(BC/)-
ขั้นตอนที่ 3 :

ABC/-

คิว(Queue)
- คิว ใน wikipedia.org
ทรี (Tree)
- ทรีใน wikipedia.org

- ไบนารีเสิร์ชทรี (Binary Search Tree)
คือ ทรีที่มีโหนดในซับทรีด้านซ้ายน้อยกว่ารูทโหนด และโหนดในซับทรีด้านขวามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับรูทโหนด และซับทรีต้องมีคุณสมบัติเป็นไบนารีเสิร์ชทรี
- เอวีแอลเสิร์ชทรี (AVL Search Tree)
คือ ทรีที่คิดค้นโดย G.M.Adelson-Velskii และ E.M.Landis โดยทรีแบบนี้จะมี ความสูงของซับทรี มาหักลบกันแล้วต้องมีค่าไม่มากกว่า 1
- ฮีพทรี (Heap Tree)
คือ ไบนารีทรีแบบสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ ซึ่งโหนดพ่อจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากบับซับทรีด้านซ้าย และด้านขวา




กราฟ (Graph)

การจัดเก็บข้อมูลในกราฟ
1. เมทริกซ์ประชิด (Adjacency Matrix)
2. ลิสต์ประชิด (Adjacency List)

- ดีกรี (Degree) คือ จำนวนของเวอร์เท็กซ์ประชิด
- เอาต์ดีกรี คือ เส้นที่ออกจากเวอร์เท็กซ์
- อินดีกรี คือ เส้นที่เข้ามายังเวอร์เท็กซ์
- เส้นทาง (Path) คือลำดับของเวอร์เท็กซ์ที่ประชิดต่อกันไปยังตัวถัดไป
- เอดจ์ (Edges) คือ เส้นที่เชื่อมระหว่างเวอร์เท็กซ์ แบบไม่มีทิศทาง
- อาร์ค (Arcs) คือ เส้นที่เชื่อมระหว่างเวอร์เท็กซ์ แบบมีทิศทาง
- เวอร์เท็กซ์ (Vertex) คือ โหนด
    V = {A,B,C,D,E}





การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)

สำหรับอธิบายการจัดเรียงแบบน้อยไปมาก เป็นการเริ่มต้น
- แบบเลือก (Selection Sort) O(n2)
    คือ การสแกนหาค่าน้อยที่สุด แล้วสลับตำแหน่งกับตัวแรก
- แบบฮิพ (Heap Sort)
    คือ การย้าย root note ไปอยู่ตำแหน่งสุดท้าย แล้วทำการ reheap ใหม่
- แบบแทรก (Insertion Sort)
    คือ การเปรียบเทียบค่ากับตำแหน่งถัดไป หากพบค่าใหม่ก็จะนำมาแทรกในตำแหน่งที่เหมาะสม เหมือนการเรียงไพ่
- แบบฟองสบู่ (Bubble Sort)
    คือ เริ่มโหนดสุดท้าย แล้วลอยขึ้นเป็นตัวแรก หากพบตัวใดน้อยกว่าก็จะสลับหน้าที่ในการลอยขึ้นมา
- แบบควิค (Quick Sort)

    คือ การจัดเรียงคล้าย Bubble Sort ที่มีการ exchange แต่แบบนี้จะแบ่งส่วนเป็น Partition โดยข้อมูลแบ่งได้ 3 ส่วนคือ

    1)ค่า pivot สำหรับแบ่งส่วน 2)ค่าที่น้อยกว่า pivot 3)ค่าที่มากกว่า pivot


    1)ก่อนดำเนินการจะนำค่า Pivot Key ตัวแรก และค่าแรก และค่าสุดท้ายมาเรียกให้ถูกต้องก่อน
    2)หลังจากนั้น จะย้าย Pivot Key ตัวแรก สลับกับค่าแรก และให้ตัวที่อยู่ถัดค่าแรกเรียกว่า sort left และตัวสุดท้ายเรียกว่า sort right
    3)ย้าย sort left ไปทางขวา แล้วย้าย sort right มาทางซ้าย จะหยุด เมื่อ sort left มากกว่า pivot key และ sort right น้อยกว่า pivot key แล้วสลับทั้ง 2 ค่า พร้อมเลื่อนต่อด้วยหลักการเดิม
    4)ก่อนเสร็จสิ้นการแบ่ง ให้ย้ายค่าที่เคยเป็นค่าแรก กับ pivot key
    5)การดำเนินการหลังแบ่งส่วนแล้ว ให้เริ่มจากด้านซ้าย แล้วค่อยทำทางขวา ในขณะจัดเรียงทางซ้ายก็จะแบ่งส่วนด้วย pivot key ของด้านซ้าย และแบ่งย่อยลงไปอีก ในขณะจัดเรียงทางขวาก็จะแบ่งส่วนด้วย pivot key ของด้านขวา และแบ่งย่อยลงไปอีก ทำเรื่อยไปจนแบ่งส่วนไม่ได้ ก็จะได้ผลการจัดเรียง
    การเรียงแบบนี้ปรับปรุงโดย R.C.Singleton ปีค.ศ.1969 ให้เลือกค่า Pivot Key จากค่ากลาง Median Value คือตำแหน่งที่อยู่ตรงกลาง (ตำแหน่งแรก + ตำแหน่งสุดท้าย/2 แล้วปัดเศษทิ้ง)


- แบบผสาน (Merge Sort)

    คือ การจัดเรียงที่นิยมใช้กับข้อมูลปริมาณมาก ที่ต้องแบ่งข้อมูลออกไปเก็บในหน่วยความจำสำรอง และนำแต่ละส่วนมาจัดเรียงในหน่วยความจำหลัก เช่น ข้อมูล 2 ล้าน 5 แสนระเบียน อาจแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 2 ส่วนแรกส่วนละ 1 ล้านระเบียน ส่วนสุดท้าย 5 แสนระเบียน เพราะข้อจำกัดของหน่วยความจำหลักที่ไม่อาจรับข้อมูลทั้ง 2 ล้าน 5 แสนระเบียนในคราวเดียวกัน เมื่อเรียงแต่ละส่วนจนครบทั้ง 3 ส่วนแล้ว ก็จะนำผลการจัดเรียงมารวมกัน
สำหรับการจัดเรียงจะทำการแบ่งข้อมูลจนเหลือเพียง 2 ส่วน แล้วจัดเรียงกลุ่มเล็กทุกกลุ่มจนหมด แล้วนำทั้งหมดมารวมกัน ก็จะได้ผลการจัดเรียง


 

 

Laughingคลิ๊กเพื่อกลับไปหน้าผลงานนักเรียนLaughing

 




Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 115,264 Today: 6 PageView/Month: 22

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...